Background



ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์การพัฒนา

40


ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนิคม


ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนิคม ประกอบไปด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

             กลยุทธ์

             1.    พัฒนาเส้นทางคมนาคมในตำบลให้ได้มาตรฐาน สะดวกปลอดภัยอย่างทั่วถึง

             2.    พัฒนาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค

             3.    พัฒนาสาธารณูปโภคให้มีประสิทธิภาพ ทั่วถึงทุกพื้นที่

 

 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคนและสังคม

             กลยุทธ์

             1.    พัฒนาคุณภาพการศึกษา

             2.    ส่งเสริมสุขภาพอนามัย รณรงค์ป้องกันโรคติดต่อและไม่ติดต่อ พัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้ถูกสุขลักษณะ

             3.    รณรงค์ป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดเพื่อลดจำนวนผู้เสพและผู้เกี่ยวข้องให้น้อยลง

             4.    ส่งเสริมการจัดระเบียบชุมชน สังคม การรักษาความสงบเรียบร้อยและการบรรเทาสาธารณภัยเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

             5.    พัฒนาการกีฬา เสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างทั่วถึง

             6.    ส่งเสริมการทำนุบำรุงและรักษาศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาฟื้นฟูต่อยอดแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรม

             7.    สงเคราะห์และพัฒนาเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้

             8.    สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและส่งเสริมกิจกรรมชุมชน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาเศรษฐกิจ

             กลยุทธ์

             1.    ส่งเสริมการประกอบอาชีพและพัฒนากลุ่มอาชีพ

             2.    สร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร พัฒนาให้ความรู้และเทคนิควิธีการในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

             กลยุทธ์

             1.    การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและปรับปรุงภูมิทัศน์ที่เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของชุมชน

             2.    เสริมสร้างประสิทธิภาพในการกำจัด บำบัดมลพิษ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการเมืองการบริหารและการจัดการองค์กรภายใต้ระบบธรรมาภิบาล

             กลยุทธ์

             1.    ส่งเสริมประชาธิปไตยและเสริมสร้างความเข้มแข็งของกระบวนการประชาสังคมในการบริหารจัดการท้องถิ่น ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นที่ตอบสนองต่อความต้องการในระดับชุมชน ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน

             2.    พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพและโปร่งใส

             3.    พัฒนาศักยภาพบุคลากรขององค์กรอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ