สภาพทางสังคม

สภาพทางสังคม


การศึกษา

                   ด้านการศึกษาตำบลบ้านนิคม มีสถานศึกษาและแหล่งการเรียนรู้ของประชาชนในตำบล ได้แก่

                   1. โรงเรียน  4  โรง ได้แก่

                                - โรงเรียนบ้านนิคมวังหิน ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านนิคม เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

                                -  โรงเรียนบ้านเขาวง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านนิคม เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา

                                -  โรงเรียนบ้านนาตำเสา ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านนิคม เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา

                               -  โรงเรียนสมสรร ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านนิคม เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

                   2. ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน  1  แห่ง ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 4 เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเฉลิมพระเกียรติตำบลบ้านนิคม เปิดสอนการศึกษาแบบการศึกษาทางไกลของการศึกษานอกโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและ                         มัธยมศึกษาตอนปลาย

                   3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  2 แห่ง ได้แก่

                               -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนิคม   หมู่ที่ 4        ตำบลบ้านนิคม

                               -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาตำเสา   หมู่ที่ 12     ตำบลบ้านนิคม

                  4. ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 8 แห่ง

                  5. ศูนย์ข้อมูลระดับตำบล คือ

    - องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนิคม ตั้งอยู่หมู่ 3

    - ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลบ้านนิคม ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 3

                   ด้านสาธารณสุข

                   ด้านการสาธารณสุข ตำบลบ้านนิคมมีโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพ  1 แห่ง คือ  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสมสรร  ตั้งอยู่ที่หมู่ที่   3  ตำบลบ้านนิคม   ได้ให้ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น หากประชาชนเจ็บไข้หนัก ๆ จะไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ คือ โรงพยาบาลบางขัน นอกจากนี้ยังมี ศูนย์ ศสมช. จำนวน 13 แห่ง  มีสมาชิกอาสาสมัครฯ  จำนวน 128  คน

    อาชญากรรม

                    ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตำบลบ้านนิคมมีป้อมยามตำรวจ 1 แห่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านนิคม ในการดูแลพี่น้องประชาชน และมีสมาชิก อปพร.ตำบลบ้านนิคม จำนวนประมาณ  105  กว่าคน ในการประสานงานดูแลซึ่งกันและกัน

 

                  ยาเสพติด

                    ปัญหายาเสพติดในตำบลบ้านนิคม ได้รับความร่วมมือกับทางผู้นำ  ประชาชน  หน่วยงานต่างๆ ที่ช่วยสอดส่องดูแลอยู่เป็นประจำ และการการณรงค์  การประชาสัมพันธ์  การฝึกอบรมให้ความรู้ ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนิคม ทำให้ปัญหายาเสพติดมีจำนวนลดลง ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนิคมได้ให้ความร่วมมือกับทางอำเภอหรือตำรวจในเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด

 

                  การสังคมสงเคราะห์

                     องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านนิคมได้ดำเนินการด้านสังคมสังเคราะห์ ดังต่อไปนี้

 (1)  ดำเนินการจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ  ผู้พิการ  และผู้ป่วยเอดส์ 

 (2)  รับลงทะเบียนและประสานโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

 (3)  ประสานการทำบัตรผู้พิการ

 (4)  ดำเนินการโครงการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับประชาชนทั่วไป

 (5)  ดำเนินโครงการสงเคราะห์ครองครัวผู้ยากไร้ที่ตกเกณฑ์ จปฐ.       

 (6)  ดำเนินโครงการสร้างและซ่อมที่อยู่อาศัยให้กับผู้ยากไร้  รายได้น้อย  ผู้ด้อยโอกาสไร้ที่พึ่ง

 (7)  อุดหนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน

 (8)  ประสานการให้ความช่วยเหลือของจังหวัด อำเภอ หน่วยงานต่างๆ ที่ให้การสนับสนุน

 (9)  จัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ

(10) อื่นๆ ตามอำนาจหน้าที่

                ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม                                                                                             

                       การนับถือศาสนา

          การนับถือศาสนาของประชาชนตำบลบ้านนิคม มีการนับถือศาสนาพุทธ อิสลาม คริสต์

                        มีสถาบันและองค์กรทางศาสนา ได้แก่

                            - วัดควนหัวไทร ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

                            - สำนักสงฆ์วิปัสสนากัมฐานนิคมภาวนาราม ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านนิคม

                            - สำนักสงฆ์เทพคีรีราษฎร์ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านนิคม

                            - มัสยิดดารู้ลฮูดาห์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

                            - ศาลเจ้า ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านนิคม อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

                        ประเพณีและงานประจำปี

                            ประชาชนได้อนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆไว้ให้บุตรหลานได้สืบสาน ดังต่อไปนี้

                              - ประเพณีทำบุญขึ้นบ้านใหม่

                             - ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ

                             - ประเพณีสงกรานต์

               - ประเพณีตักบาตรขึ้นบ้านใหม่

               - ประเพณีทำบุญวันสารทเดือนสิบ

               - ประเพณีเข้าสุนัสของพี่น้องไทยมุสลิม

 

       ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

             ประชาชนในเขตพื้นที่ได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบทอดกันมา เช่น แพทย์สมุนไพรพื้นบ้าน การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรพื้นบ้าน หัตถกรรมเครื่องสาน เป็นต้น

                          ภาษาถิ่น  ประชาชนใช้ภาษาใต้ในการสื่อสาร